วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556


คาบุกิ

คาบุกิ (ญี่ปุ่น歌舞伎 kabuki ) เป็นศิลปการแสดงของญี่ปุ่น โดยมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ โดยมีเนื้อเรื่อง 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร และ เรื่องราวชีวิตของชาวเมือง
คะบุกิ เริ่มต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 โดยมีการเปิดการแสดงในเกียวโต โดยคณะละครที่ประกอบด้วยผู้ร่ายรำสตรีที่นำโดยผู้ดูแลศาลเจ้าอิซุโมะ แต่หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1629 ได้มีประกาศรัฐบาลห้ามสตรีแสดงด้วยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาศีลธรรมของประชาชน ดังนั้นคะบุกิจึงแสดงโดยเด็กหนุ่มและเมื่อรัฐบาลห้ามมิให้เด็กหนุ่มแสดง คะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่
   เนื้อเรื่องของการแสดงคาบูกิจะมีอยู่ 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร ตำนานวีรบุรุษ เวทมนต์และเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ และอีกประเภทคือเรื่องราวชีวิตของชาวเมืองเรื่องเศร้าเคล้าน้ำ ละครคาบูกิเป็นเป็นการแสดงที่เต็มไปด้วย ฉากที่ตื่นเต้นเร้าใจและมักจะต้องมีการต่อสู้กันเกิดขึ้นมากมายในเนื้อเรื่อง สังเกตดูหน้าของตัวแสดง เขาจะมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ด้วย โดยเฉพาะที่ตาจะดูน่ากลัวมาก และบทพูดก็ฟังยากมาก แม้กระทั่งคนญี่ปุ่นเองก็ยังฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ดูขลังดี                                              

คาบูกิ(歌舞伎)ศิลป์ศาสตร์แห่งการเริงรำ

  คาบูกิเป็นศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 โดยนางรำที่ชื่อว่า Izumo no okuni กับคณะละครของเธอ ในสมัยนั้นยังไม่ประณีตบรรจงเท่าปัจจุบันจึงไม่น่าสนใจ เดิมละครคาบูกิจะใชผู้หญิงเล่นเป็นตัวนาง ซึ่งผู้หญิงเหล่านั้นมักจะเป็นโสเภณี แต่เพราะเป็นผู้หญิง การแสดงจึงดูอ่อนช้อยและงดงามแต่ในสมัยโทคุกาวามีการห้ามโดยเด็ดขาด ด้วยเห็นว่าไม่ดีงามต่อศิลธรรม
  ตัวละครจะมีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ ดีใจ โกรธ บ้าคลั่ง ฯลฯ จึงทำให้ละครคาบูกิเป็นที่นิยมดูกัน การแสดงถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นที่นิยมที่สุดในสมัยเอโดะศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นละครคลาสสิคเนื่องจากคาบูกิเป็นรูปแบบความบันเทิงที่ผสมผสานกันหลากหลาย ตั้งแต่ดนตรี การร่ายรำ การเล่าเรื่องตลกชวนหัว เรื่องเศร้าซึ้งและทุกๆอย่างที่ผู้ชมต้องการดู ในละครคาบูกิไม่มีผู้แสดงหญิง ใช้นักแสดงชายแสดงเป็นผู้หญิงซึ่งเรียกว่า อนนะงาตะ ถ้าเป็นหญิงเรียก โอยามะ จะมีผู้คุมเวทีคือ คุโรโกะ จะมีหน้าที่ในการควบคุมการแสดงไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟ็ค ความปลอดภัย และอื่นๆ โดยคุโรโกะจะแต่งกายด้วยชุดดำมีผ้าบางปิดหน้าการแต่งกายคล้ายนินจาของญี่ปุ่น ส่วนนักดนตรีจะใส่ชุดคล้ายซามูไร
ต้นกำเนิดของ Kabuki คือคำว่า "Kabuku" คาบุคุ(เอียง) ซึ่งมีความหมายแฝงที่เพิ่มขึ้นมาจากการกระทำที่แปลกประหลาดรูปแบบฯลฯ เมื่อมันเกิดคาบุกิเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไป Kabuki ที่ดำเนินการในยุคปัจจุบันได้รับการขัดเกลาในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ก่อนที่เวลานั้น Kabuki เกี่ยวข้องกับการเต้นรำกามและการเล่นกายกรรม แต่ก็ถูกยกสถานะขเป็นศิลปะการแสดงละครอย่างจริงจังโดยนักเขียน Chikamatsu Monzaemon (1653-1724) และนักแสดง Ichikawa Danjurô Kabuki มีการเคลื่อนไหวของตัวเองอย่างพิเศษ ทำให้บางคำพูดของตัวละครกลายเป็นคำติดปากของคนดูได้ออย่างง่ายดาย เพราะการดึงดูดของตัวละครที่มีความแตกต่างกัน เช่น ตัวเอกจะเขียนหน้าคล้ายคลึงการเขียนหน้างิ้วของจีน

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตุ๊กตาไล่ฝน (てるてるぼうず)

ตุ๊กตาพื้นบ้านแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ปรากฏเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในชนบทหรือใจกลางของเมืองหลวง  ตุ๊กตาตัวนี้มักจะถูกผูกห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือแขวนประดับไว้บนขอบ หน้าต่างหรือบนกิ่งไม้ ทั้งๆที่มันมีรูปร่างที่แสนจะเรียบง่ายธรรมดา ทำขึ้นง่ายๆด้วยเศษผ้าหรือกระดาษสีขาว แต่ไม่น่าเชื่อว่า ตุ๊กตาที่สุดแสนจะธรรมดานี้ กลับมีอิทธิพลต่อคติความเชื่อของชาวญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่า หากแขวนมันไว้ จะทำให้รุ่งขึ้นของวันพรุ่งนี้ ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งแจ่มใส  แน่นอนว่า ตุ๊กตาตัวนี้ก็คือ “ตุ๊กตาไล่ฝน”

ตุ๊กตาไล่ฝน หรือ เทรุ เทรุ โบซุ ( Teru teru bozu) เป็นหนึ่งในตุ๊กตาวัฒนธรรมพื้นบ้านของญี่ปุ่น  คำว่า เทรุ (teru) แปลว่า ส่องประกาย (ซึ่งหมายถึงแสงพระอาทิตย์)  ส่วนคำว่า โบซุ (bozu) แปลว่า พระภิกษุ (แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “หัวโล้น” เช่นกัน)  ลักษณะของตุ๊กตาไล่ฝน(เทรุเทรุ โบซุ) มีขนาดเล็กประมาณ 5 -8 นิ้ว สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีง่ายๆ  โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ผ้าหรือกระดาษสีขาวมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วหาวัสดุทรงกลมหรือใยฝ้ายมาทำเป็นส่วนศีรษะ ม้วนขึ้นเป็นก้อนกลมบรรจุไว้ตรงกลาง จากนั้นก็จะรวบผ้าเข้าหากันแล้วผูกด้วยเส้นเชือกหรือเส้นด้าย  ต่อมาจึงค่อยวาดรายละเอียดในส่วนศีรษะ เช่น ดวงตา  จมูก และ ปาก  ก่อนที่จะนำไปห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือริมขอบหน้าต่าง  หลังจากนั้น จึงจะตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้วันรุ่งขึ้นมีท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งแจ่มใส คติความเชื่อแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมมากของชาวไร่ชาวนาที่ต้องไปหว่านข้าวไถนาในยามที่ท้องฟ้า อากาศสดใส  ในขณะที่เด็กๆก็จะชอบอกชอบใจ เพราะหากเช้าวันพรุ่งนี้ไม่มีฝนตก  จะทำให้พวกเด็กๆสามารถเดินทางไปทัศนศึกษา แข่งขันกีฬา รวมไปถึงการได้ไปท่องเที่ยวกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข
ประวัติที่มาของ ตุ๊กตาไล่ฝน (เทรุเทรุโบซุ) กล่าวกันว่าสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ (Edo period)หรือประมาณ 400 ปีก่อน  สันนิษฐานว่าความเชื่อเรื่องตุ๊กตาไล่ฝน ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจาก ตุ๊กตาเซ่าฉิงเหนียง (掃晴娘)ของประเทศจีน มีความหมายว่า “หญิงสาวผู้ขจัดเมฆฝน” ในหนังสือสมัยโบราณชื่อ บันทึกแห่งนครหลวง (帝京景物略) มีข้อความอยู่ตอนหนึ่ง เขียนไว้ว่า  …ฝนตกมานานจนมากเกินไปแล้ว ชาวบ้านจึงเอากระดาษสีขาวมาทำเป็นส่วนศีรษะ ตัดกระดาษสีแดงและเขียวมาทำเป็นเสื้อผ้า แล้วผูกแขวนไว้ใต้หลังคา เรียกกันว่า “เซ่าฉิงเหนียง”

ตำนานอีกเรื่องหนึ่งนั้นมาจากนิทานเรื่อง “หญิงสาวผู้อัศจรรย์”( 神奇女孩) เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งนั้น พญามังกรทะเลตะวันออกได้บันดาลให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักจนเกิดเป็นอุทกภัย ครั้งใหญ่ สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านชาวเมืองอย่างหนัก แต่แล้วได้มีหญิงสาวผู้วิเศษได้อาสาปีนขึ้นไปบนยอดหลังคาเพื่อเปิดท้องฟ้า วิงวอนต่อพญามังกรให้ฝนหยุดตก  ก่อนขึ้นสู่สวรรค์ นางได้กำชับชาวบ้านไว้ว่า หากวันใดมีฝนตกหนัก ให้ตัดกระดาษเป็นรูปตัวของนางแขวนไว้กับหลังคาบ้าน  ดังนั้น เมื่อถึงช่วงฤดูฝนในเดือนหกตามปฏิทินจันทรคติ ชาวบ้านก็จะตัดกระดาษเป็นรูปหญิงสาวสีขาว เรียกกันว่า ตุ๊กตาเซ่าหวิน(扫云)แปลว่า ขจัดเมฆฝน หรือ หนี่ว์เอ๋อเซ่าฉิง (女儿扫晴) หมายถึง หญิงสาวผู้ขจัดเมฆฝนให้ฟ้าแจ่มใส และแล้วเมื่อคติความเชื่อเรื่องการทำตุ๊กตากระดาษแพร่หลายมาถึงญี่ปุ่น ด้วยความเชื่อที่ว่า หากแขวนมันไว้จะช่วยทำให้ฝนหยุดตกหรือช่วยทำให้ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ได้พัฒนาจนค่อยๆกลายมาเป็น “ตุ๊กตาไล่ฝน” (เทรุเทรุ โบซุ)ในที่สุด

นอกจากนี้ บางตำนานก็เล่ากันว่า พระสงฆ์ในนิกายเซน(Zen) เป็นผู้แนะนำให้ชาวบ้านสร้างมันขึ้นเพื่อขอพรให้วันพรุ่งนี้มีท้องฟ้าที่สด ชื่นแจ่มใส พวกเขาจะได้มีกำลังใจออกไปทำไร่ไถนาได้อย่างสะดวกสบาย ความเชื่อเช่นนี้สังเกตได้ว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำตุ๊กตาไล่ฝนที่มีศีรษะล้านเลี่ยน อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระสงฆ์ที่มาช่วยขจัดปัดเป่าเมฆฝนให้มลายหายไปนั่นเอง

ภาพของตุ๊กตาไล่ฝนสำหรับคนไทยจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกคุ้นตา  ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ตุ๊กตาไล่ฝนได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา”(一休さ) ฉากภาพตุ๊กตาไล่ฝนเป็นเสมือนตัวแทนของแม่ที่อิคคิวได้แขวนไว้กับกิ่งไม้ เพื่อเป็นตัวแทนความรักความผูกพันที่ใช้ดูต่างหน้าแทนแม่ที่อยู่ห่างไกล  ส่วนใหญ่แล้วชาวไทยจะจดจำภาพของตุ๊กตาไล่ฝนได้เป็นอย่างดี เพราะมีปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องและช่วงเพลงจบของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้
ในบทเพลงกล่อมเด็กที่มีชื่อเสียงโด่งดังของญี่ปุ่น ชื่อว่า เทรุเทรุ โบซุ (Teru teru bozu) หรือ ตุ๊กตาไล่ฝน ประพันธ์โดย เคียวซัน อาซาฮาระ (Kyoson Asahara) เรียบเรียงเป็นบทเพลงโดย ชินเปอิ นากายาม่า ( Shinpei Nakayama) มีเนื้อความว่า
“ …เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
เหมือนดั่งท้องฟ้าในยามฝัน
หากฟ้าแจ่มใส ฉันจะให้กระดิ่งทองแก่เจ้า
…เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
หากเจ้าทำให้ความหวังของฉันเป็นจริง
ฉันจะจิบดื่มสาเกอันหวานชื่น
…เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
แต่หากมีเมฆร้องไห้และฝนโปรยปราย
ฉันจะตัดศีรษะของเจ้าเสีย”
นอกจากนี้ ยังมีคติความเชื่อแปลกๆที่น่าสนุกและน่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับตุ๊กตาไล่ฝนก็คือ หากตั้งจิตขอพรแล้ววันรุ่งขึ้นท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ก็ให้เอากระดิ่งเล็กๆมาแขวนคอของมันไว้  แต่ถ้าหากวันใดอยากให้มีฝนตกหนักล่ะก็ ให้เอาตุ๊กตาไล่ฝนห้อยกลับหัวลง (บ้างก็เอาสีดำมาป้ายบนศีรษะ) เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมันหายไป ฝนก็จะได้ตกลงหนักๆแทนที่
ไม่ว่าความเชื่อเรื่องตุ๊กตาไล่ฝนจะดลบันดาลให้สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ก็ตาม  แต่สำหรับหัวใจดวงน้อยของเด็กๆแล้ว  เช้าวันรุ่งที่ท้องฟ้าแจ่มใส ย่อมส่องประกายเจิดจ้ากลางหัวใจอันบริสุทธิ์ของพวกเขานั่นเอง

ความเชื่อตุ๊กตาไล่ฝน

ตุ๊กตาพื้นบ้านแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ปรากฏเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในชนบทหรือใจกลางของเมืองหลวง  ตุ๊กตาตัวนี้มักจะถูกผูกห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือแขวนประดับไว้บนขอบ หน้าต่างหรือบนกิ่งไม้ ทั้งๆที่มันมีรูปร่างที่แสนจะเรียบง่ายธรรมดา ทำขึ้นง่ายๆด้วยเศษผ้าหรือกระดาษสีขาว แต่ไม่น่าเชื่อว่า ตุ๊กตาที่สุดแสนจะธรรมดานี้ กลับมีอิทธิพลต่อคติความเชื่อของชาวญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่า หากแขวนมันไว้ จะทำให้รุ่งขึ้นของวันพรุ่งนี้ ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งแจ่มใส  แน่นอนว่า ตุ๊กตาตัวนี้ก็คือ “ตุ๊กตาไล่ฝน”


ตุ๊กตาไล่ฝน หรือ เทรุ เทรุ โบซุ ( Teru teru bozu) เป็นหนึ่งในตุ๊กตาวัฒนธรรมพื้นบ้านของญี่ปุ่น  คำว่า เทรุ (teru) แปลว่า ส่องประกาย (ซึ่งหมายถึงแสงพระอาทิตย์)  ส่วนคำว่า โบซุ (bozu) แปลว่า พระภิกษุ (แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “หัวโล้น” เช่นกัน)  ลักษณะของตุ๊กตาไล่ฝน(เทรุเทรุ โบซุ) มีขนาดเล็กประมาณ 5 -8 นิ้ว สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีง่ายๆ  โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ผ้าหรือกระดาษสีขาวมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วหาวัสดุทรงกลมหรือใยฝ้ายมาทำเป็นส่วนศีรษะ ม้วนขึ้นเป็นก้อนกลมบรรจุไว้ตรงกลาง จากนั้นก็จะรวบผ้าเข้าหากันแล้วผูกด้วยเส้นเชือกหรือเส้นด้าย  ต่อมาจึงค่อยวาดรายละเอียดในส่วนศีรษะ เช่น ดวงตา  จมูก และ ปาก  ก่อนที่จะนำไปห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือริมขอบหน้าต่าง  หลังจากนั้น จึงจะตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้วันรุ่งขึ้นมีท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งแจ่มใส คติความเชื่อแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมมากของชาวไร่ชาวนาที่ต้องไปหว่านข้าวไถนาในยามที่ท้องฟ้า อากาศสดใส  ในขณะที่เด็กๆก็จะชอบอกชอบใจ เพราะหากเช้าวันพรุ่งนี้ไม่มีฝนตก  จะทำให้พวกเด็กๆสามารถเดินทางไปทัศนศึกษา แข่งขันกีฬา รวมไปถึงการได้ไปท่องเที่ยวกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข
  ตุ๊กตาไล่ฝนนิยมแขวนไว้ริม
     หน้าต่างทั้งในบ้านและที่ทำงาน


ประวัติที่มาของ ตุ๊กตาไล่ฝน (เทรุเทรุโบซุ) กล่าวกันว่าสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ (Edo period)หรือประมาณ 400 ปีก่อน  สันนิษฐานว่าความเชื่อเรื่องตุ๊กตาไล่ฝน ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจาก ตุ๊กตาเซ่าฉิงเหนียง (掃晴娘)ของประเทศจีน มีความหมายว่า “หญิงสาวผู้ขจัดเมฆฝน” ในหนังสือสมัยโบราณชื่อ บันทึกแห่งนครหลวง (帝京景物略) มีข้อความอยู่ตอนหนึ่ง เขียนไว้ว่า  …ฝนตกมานานจนมากเกินไปแล้ว ชาวบ้านจึงเอากระดาษสีขาวมาทำเป็นส่วนศีรษะ ตัดกระดาษสีแดงและเขียวมาทำเป็นเสื้อผ้า แล้วผูกแขวนไว้ใต้หลังคา เรียกกันว่า “เซ่าฉิงเหนียง”


ตำนานอีกเรื่องหนึ่งนั้นมาจากนิทานเรื่อง “หญิงสาวผู้อัศจรรย์”( 神奇女孩) เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งนั้น พญามังกรทะเลตะวันออกได้บันดาลให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักจนเกิดเป็นอุทกภัย ครั้งใหญ่ สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านชาวเมืองอย่างหนัก แต่แล้วได้มีหญิงสาวผู้วิเศษได้อาสาปีนขึ้นไปบนยอดหลังคาเพื่อเปิดท้องฟ้า วิงวอนต่อพญามังกรให้ฝนหยุดตก  ก่อนขึ้นสู่สวรรค์ นางได้กำชับชาวบ้านไว้ว่า หากวันใดมีฝนตกหนัก ให้ตัดกระดาษเป็นรูปตัวของนางแขวนไว้กับหลังคาบ้าน  ดังนั้น เมื่อถึงช่วงฤดูฝนในเดือนหกตามปฏิทินจันทรคติ ชาวบ้านก็จะตัดกระดาษเป็นรูปหญิงสาวสีขาว เรียกกันว่า ตุ๊กตาเซ่าหวิน(扫云)แปลว่า ขจัดเมฆฝน หรือ หนี่ว์เอ๋อเซ่าฉิง (女儿扫晴) หมายถึง หญิงสาวผู้ขจัดเมฆฝนให้ฟ้าแจ่มใส และแล้วเมื่อคติความเชื่อเรื่องการทำตุ๊กตากระดาษแพร่หลายมาถึงญี่ปุ่น ด้วยความเชื่อที่ว่า หากแขวนมันไว้จะช่วยทำให้ฝนหยุดตกหรือช่วยทำให้ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ได้พัฒนาจนค่อยๆกลายมาเป็น “ตุ๊กตาไล่ฝน” (เทรุเทรุ โบซุ)ในที่สุด

บางครั้งตุ๊กตาไล่ฝนก็จะมีการแขวนไว้ บนราวเชือกเป็นจำนวนมาก

ในบทเพลงกล่อมเด็กที่มีชื่อเสียงโด่งดังของญี่ปุ่น ชื่อว่า เทรุเทรุ โบซุ (Teru teru bozu) หรือ ตุ๊กตาไล่ฝน ประพันธ์โดย เคียวซัน อาซาฮาระ (Kyoson Asahara) เรียบเรียงเป็นบทเพลงโดย ชินเปอิ นากายาม่า ( Shinpei Nakayama) มีเนื้อความว่า

“ …เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
เหมือนดั่งท้องฟ้าในยามฝัน
หากฟ้าแจ่มใส ฉันจะให้กระดิ่งทองแก่เจ้า
…เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
หากเจ้าทำให้ความหวังของฉันเป็นจริง
ฉันจะจิบดื่มสาเกอันหวานชื่น
…เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนเอย
ช่วยทำให้วันพรุ่งนี้เป็นวันที่มีอากาศแจ่มใสทีนะ
แต่หากมีเมฆร้องไห้และฝนโปรยปราย
ฉันจะตัดศีรษะของเจ้าเสีย”

นอกจากนี้ ยังมีคติความเชื่อแปลกๆที่น่าสนุกและน่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับตุ๊กตาไล่ฝนก็คือ หากตั้งจิตขอพรแล้ววันรุ่งขึ้นท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ก็ให้เอากระดิ่งเล็กๆมาแขวนคอของมันไว้  แต่ถ้าหากวันใดอยากให้มีฝนตกหนักล่ะก็ ให้เอาตุ๊กตาไล่ฝนห้อยกลับหัวลง (บ้างก็เอาสีดำมาป้ายบนศีรษะ) เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมันหายไป ฝนก็จะได้ตกลงหนักๆแทนที่

จาก http://www.artedchula.com

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556


วิธีการชงชาของญี่ปุ่น


การดื่มชาเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ที่รับเข้ามาจากจีน แล้วดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยมของตน จนกลายเป็นวัฒนธรรมของตนเองในที่สุด ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและ เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก

พิธีการชงชานั้นในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ซะโดะ” ชาที่นำมาใช้ชงนั้นจะต้องบดชาให้เป็นผงละเอียด เรียกว่า " มัทฉะ "  นอกจากวัตถุดิบที่สำคัญนี้แล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อย่างอื่นอีก  คือ ถ้วยชา ที่เกือบทุกบ้านจะเลือกใช้ถ้วยที่สวยงาม โชว์ศิลปะหรือความพิเศษเฉพาะตัว บางถ้วยมีคุณค่าเป็นมรดกตกทอดประจำตระกูลกันเลยทีเดียว นอกจากนั้นก็จะมีกระปุกสำหรับใส่ผงชาเขียว ช้อนตักชาที่เป็นช้อนไม้ใผ่ขนาดเล็กๆ ปลายงอเล็กน้อย ไม้ชงชาจะมีลักษณะคล้ายๆ ที่ตีไข่แต่ขนาดเล็กกว่า โดยส่วนที่ใช้คนจะนำไม้ใผ่ซี่บางๆ มาดัดให้โค้งงอ ถ้ายิ่งเป็นพิธีการชั้นสูงก็จะยิ่งมีอุปกรณ์ต่างๆ เยอะขึ้นอีก รูปแบบการจัดพิธีชงชา มักจัดในห้องพิธีชาลำดับการชงชา คือ

ผู้ชงจะใส่มัทฉะ (ผงชาเขียว) ลงในถ้วยชาและตักน้ำร้อนหม้อต้มมาใส่ คนด้วยฉะเซน (ไม้คนชา) จนแตกฟอง  เมื่อได้ที่ก็จะยก ถ้วยชาขึ้นหมุนประมาณ 3 ครั้งแล้ววางไว้ด้านหน้าผู้ดื่ม
วิธีดื่ม คือ ยกถ้วยชาขึ้นมา  ด้วยมือขวาและวางลงบนฝ่ามือข้างซ้าย หมุนถ้วยชาเข้าหาตัวหลังจากดื่มเสร็จ แล้วใช้ปลายนิ้วเช็ดขอบถ้วยชา และใช้ไคชิ (กระดาษรองขนม) เช็ดนิ้ว แต่องค์ประกอบที่สำคัญของพิธีชงชาไม่ใช้แค่การชงและการดื่มชา สิ่งสำคัญอยู่ที่การชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ เช่น ถ้วยชา เครื่องใช้ในพิธีชงชา ชื่นชมความงามของบรรยากาศรอบๆตัวและการสื่อประสานใจระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนนั่นเอง
*** คนญี่ปุ่นเค้าดื่มชากันทั้งวันจริงๆ นะคะ เรียกได้ว่าแทนน้ำเปล่าเลยทีเดียว แต่ชาที่เค้าดื่มเนี่ย ไม่หวาน ไม่มีรสชาติแบบ น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือ แอปเปิ้ลนะ เรียกได้ว่าเป็นรสชาติดั้งเดิม ขมๆ นั่นเอง**
ที่มาจาก http://www.j-channel.jp

วิธีการชงชาของญี่ปุ่น

วิธีชงชาของญี่ปุ่น เรียกว่า ชะโนยุ (cha-noyu )

ชาเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่นโดยพระภิกษุนิกายเซน ชื่อ ท่านเอไซ จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นั่งเข้าฌานได้นานๆ ด้วยเหตุนี้พระจึงนิยมดื่มกันก่อนชาวบ้านทั่วไป ชาเขียวที่นิยมดื่มได้แก่ เซนชะ (sencha) โฮจิชะ (Houjicha)บันชะ (Bancha) และชาที่ถือว่าเป็นชาชั้นเยี่ยมคือ เกียวกุโระ (Gyokuro) และท่านเอไซก็เป็นผู้ริเริ่มพิธีชงชา ที่เรียกว่า วะบิชะ (wabicha) 

ชะโด (chadou) แปลว่าวิถีแห่งชา คือวิธีการชงชา ที่มีพื้นฐานมาจากความเคารพ และชื่นชมความงามของสรรพสิ่งในวิถีชีวิต ส่วนท่านเซนโนะ ริคิว (sen no Rikyu )เป็นผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในการชงชา ลูกหลานขอท่านได้ตั้งสำนักเซนเคะ (senke) ซึ่งทำให้พิธีชงชาได้สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก...

ขั้นตอนวิธีชงชาของญี่ปุ่น
การชงชาเริ่มจากเจ้าภาพตักชาเขียวป่น(Matcha) ลงในถ้วยชา (chawan) จากนั้นตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป แล้วใช้ไม้สำหรับคนชา (chasen) คนจนชาเป็นฟอง แล้วยกถ้วยชาส่งให้บรรดาแขก เมื่อแขกคนแรกรับถ้วยชาม
ก็จะหันไปกล่าวขอโทษแขกคนถัดไปที่ตนเป็นผู้ดื่มชาก่อน แล้วหันไปคำนับเจ้าภาพเป็นการขอบคุณจากนั้นจึงยกถ้วยชาขึ้นดื่ม

ขนมที่ใช้ทานคู่กันในการดื่มชา
เป็นขนมหวาน เรียกว่า วากาชิ (wagashi) ได้แก่...
ขนมโยกัน (Yokun) เป็นเจลลี่ถั่วแดงหวาน
ขนมมันจู (Manju) คือซาลาเปาบ้านเรานั่นเอง
ขนมซากุระโมชิ (sakuramoshi) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวไส้ถั่วแดงห่อด้วยใบ
ซากุระหมักเกลือ แสดงถึงฤดูใบไม้ผลิ
ขนมสึกิมิดังโกะ( Tsukimidan- go) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ใช้ในพิธีชมจันทร์

ขอแนะนำชาญี่ปุ่นที่ดื่มในโอกาสต่างๆ
ชา shincha จะมีในเดือนพฤษภาคม เป็นชาแรกที่เก็บได้ของฤดู
ชา Mugicha หรือชาข้าวบาร์เลย์ นิยมดื่มใน ฤดู ร้อน
ชา sakurayu ดื่มในโอกาสงานมงคลเป็นชาที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบกุหลาบแทนชาเขียว แล้วปรุงรสด้วยเกลีอ