โดยแบ่งเป็น 4 หมวดเช่น
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพอุกิโยะ และ มังงะ
1.สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
สถาปัตยกรรมกับธรรมชาติอยู่เสมอ นอกจากคอนกรีตเปลือยผิวที่มีลักษณะเฉพาะตัวเห็นได้ชัดแล้ว แสงสว่างที่ส่องผ่านเข้ามาในอาคารในแบบต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ได้รับการชื่นชม ถ้าจะกล่าวแบบสรุปออกมาเป็นแนวคิด คอนกรีตเปลือยผิวก็เป็นการแสดงออกของวัสดุในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมพื้นฐานเช่น ผนัง พื้น เพดาน ส่วนบทบาทของแสงนั้นก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติ
ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคโบราณ (8,000 ปีก่อนคริสตกาล – ศตวรรษที่ 11)
ยุคนี้เริ่มจากการรวบรวมชนเผ่าเล็ก ๆ ขึ้นมาเป็นจักรวรรดิ และปกครองโดยใช้ระบบของจีนที่เรียกว่า ริทสึเรียว (ritsuryou : การใช้กฎหมายและหลักจริยธรรมตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถัง) แต่เกิดมีความขัดแย้งขึ้นมาจนลุกลามออกไป หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลแยกตัวจากรัฐบาลกลาง และก่อตั้งเป็นกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ
สมัยโจมน (Joumon) (8,000 – 300 ปีก่อนคริสตกาล)
ที่หมู่เกาะญี่ปุ่นมีผู้คนอาศัยมาตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า แต่ก็เชื่อกันว่าชนชาติญี่ปุ่น และต้นกำเนิดของภาษาญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นมาในสมัยโจมน คือ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนจนถึง 300 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวกันว่า ผู้คนในยุคนั้นจะขุดหลุมเป็นบ้าน และอาศัยอยู่กันหลังละเกือบสิบคน ยังชีพโดยการล่าสัตว์ จับปลาหาอาหาร อีกทั้งไม่มีความจนความรวยความเหลื่อมล้ำในสังคมยุคนี้ อย่างไรก็ตามการขุดพบซากหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ ซันไน มะรุยะมะ (Sannai Maruyama) ในจังหวัดอะโอะโมะริ (Aomori) ได้ทำให้ผู้คนหันมาสนใจในแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่
สมัยยะโยะอิ (Yaoi) (300 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ.300)
เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล การปลูกข้าวกับวิทยาการการใช้เครื่องใช้โลหะได้ถูกนำเข้ามาทางตอนเหนือของคิวชู โดยผ่านคาบสมุทรเกาหลี สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เช่น การเพิ่มผลผลิต ความแตกต่างความรวยความจน การแบ่งชนชั้น การปรับกลุ่มชาวนาให้เป็นกลุ่มนักปกครอง เป็นต้น ความเชื่อระเบียบแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติของชาวนาแพร่หลายออกไป จนกลายเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นสืบไป วัฒนธรรมสมัยยะโยะอิมีความรุ่งเรืองต่อเนื่องจนถึงราว ๆ ปี ค.ศ.300 และในช่วงปลายก็ได้แพร่ขยายจนถึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นด้วย
สมัยสุสานโบราณ (Kofun) (ค.ศ.300 – 700)
เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 4 ชนเผ่าอิสระกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมโดยชนเผ่า ยะมะโตะ (Yamato) ขณะเดียวกันสุสานที่มีลักษณะพิเศษเป็นรูปกุญแจก็ถูกสร้างขึ้นทั่วไป ความรู้ และวิทยาการต่าง ๆ จากจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ ในศตวรรษที่ 4 ชนเผ่ายะมะโตะได้ขึ้นไปคาบสมุทรเกาหลีและรับเอาวัฒนธรรมการผลิตเครื่องใช้ของภาคพื้นทวีปมา ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 5 ชาวเกาหลีได้นำวิทยาการต่าง ๆ เข้ามา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน
ในศตวรรษที่ 7 เจ้าชายโชะโทะคุ (Shoutoku) จัดวางระบบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่จักรพรรดิตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถังของจีนได้สำเร็จเมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองไทขะ (Taika) และมีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงสิบกว่าครั้ง
สมัยนะระ (Nara) (ค.ศ.710 – 794)
เมื่อปี ค.ศ.710 ขณะที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม (ritsuryou) ก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่เฮโจเคียว (Heijoukyou) หรือเมืองนะระและบริเวณใกล้เคียงในปัจจุบัน แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมื่อระบบโคฉิโคมิน (Kouchi-koumin : ระบบที่รัฐบาลกลางครอบครองที่ดินทั้งหมดและปันส่วนให้กับขุนนางและชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลงเนื่องจากมีที่ดินที่ได้รับยกเว้นภาษี (Shoen) อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงความยากจนไร้ที่อยู่อาศัยของชาวนา ในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เริ่มจากวัฒนธรรมอะสุขะ (Asuka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาอันดับแรกของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮะคุโฮะ (Hakuhou) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นความทุกข์ยากของมนุษย์ จนถึงวัฒนธรรมเท็มเปียว (Tenpyou) ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกของมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามที่เป็นจริง ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
“มันโยชู” (Man’youshuu) คือ งานชิ้นเอกแห่งยุค ซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจนถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4,500 บท โดยใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน “มันโยชู” ได้รับบรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังมี “โคะจิขิ” (Kojiki) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ (ค.ศ.712) “นิฮงโชะขิ” (Nihonshoki) ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.720) และหนังสือรวมบทกวี “ไคฟูโซ” (kaifuusou) ฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.751) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการรวมบทกวีจีนของนักกวีญี่ปุ่น

สมัยเฮอัน (Heian) (ค.ศ.794 – 1185)
ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอันเ คียว (Heiankyou) หรือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน และมีความพยายามจะนำระบบ ริทสึเรียว (Ritsuryou) กลับมาใช้แต่เนื่องจากระบบโคฉิโคมินเสื่อมลง ทำให้บ้านเมืองขาดแคลนเงินทอง จนไม่สามารถส่งทูตไปจีนได้อีกภายหลังจากที่ส่งไปครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ.894 ซึ่งเป็นผลให้การรับวัฒนธรรมจากแผ่นดินใหญ่ยุติลงไปด้วย
ตระกูลฟุจิวะระ (Fujiwara) เป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจปกครองญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 10-11 และนำเอาระบบการจัดสรรปันส่วนที่ดิน โดยมีการยกเว้นภาษีที่ดินแก่คนบางกลุ่ม (Shoen) มาใช้ แต่การดูแลหัวเมืองในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเกิดการจราจลแยกตัวออกไปก่อตั้งตระกูลทหารขึ้นใน ตอนปลายศตวรรษที่ 11 ตระกูลฟุจิวะระถูกขัดขวางโดยฝ่ายอินเซ (Insei : จักรพรรดิผู้ที่ทรงสละราชบังลังก์แล้วแต่ยังทรงกุมอำนาจอยู่) ขณะที่ทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น
วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในสมัยเฮอันในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังอยู่ พุทธศาสนานิกายมิเคียว (Mikkyou) กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมาก พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว ได้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ “โคะคินวะคะชู” (Kokinwakashuu) เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นเล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ (ในต้นศตวรรษที่ 10) “เกนจิ โมะโนะงะตะริ” (Genji Monogatari) นวนิยายเรื่องยาวที่เก่าที่สุดในโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ “มะคุระโนะ โชชิ” (Makura no Soshi) หนังสือข้างหมอน (ประมาณ ค.ศ. 1000) วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร “คะนะ” (Kana) ซึ่งคนญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์จากตัวอักษรคันจิ และสามารถใช้เขียนคำศัพท์ญี่ปุ่น เพื่อสื่อความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังนำไปสู่โลกวรรณกรรมสตรีอีกด้วย
ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา พุทธศาสนานิกายโจโดะ (Joudo) ซึ่งมุ่งหวังความสุขในชาติหน้าเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับนิกายมิคเคียว ที่หวังผลประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ และเราจะเห็นถึงความมีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในวรรณกรรมกับงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม การเขียนภาพ การแกะสลัก เป็นต้น
ยุคนี้เริ่มจากการรวบรวมชนเผ่าเล็ก ๆ ขึ้นมาเป็นจักรวรรดิ และปกครองโดยใช้ระบบของจีนที่เรียกว่า ริทสึเรียว (ritsuryou : การใช้กฎหมายและหลักจริยธรรมตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถัง) แต่เกิดมีความขัดแย้งขึ้นมาจนลุกลามออกไป หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลแยกตัวจากรัฐบาลกลาง และก่อตั้งเป็นกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ
สมัยโจมน (Joumon) (8,000 – 300 ปีก่อนคริสตกาล)
สมัยยะโยะอิ (Yaoi) (300 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ.300)
เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล การปลูกข้าวกับวิทยาการการใช้เครื่องใช้โลหะได้ถูกนำเข้ามาทางตอนเหนือของคิวชู โดยผ่านคาบสมุทรเกาหลี สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เช่น การเพิ่มผลผลิต ความแตกต่างความรวยความจน การแบ่งชนชั้น การปรับกลุ่มชาวนาให้เป็นกลุ่มนักปกครอง เป็นต้น ความเชื่อระเบียบแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติของชาวนาแพร่หลายออกไป จนกลายเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นสืบไป วัฒนธรรมสมัยยะโยะอิมีความรุ่งเรืองต่อเนื่องจนถึงราว ๆ ปี ค.ศ.300 และในช่วงปลายก็ได้แพร่ขยายจนถึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นด้วย
สมัยสุสานโบราณ (Kofun) (ค.ศ.300 – 700)
เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 4 ชนเผ่าอิสระกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมโดยชนเผ่า ยะมะโตะ (Yamato) ขณะเดียวกันสุสานที่มีลักษณะพิเศษเป็นรูปกุญแจก็ถูกสร้างขึ้นทั่วไป ความรู้ และวิทยาการต่าง ๆ จากจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ ในศตวรรษที่ 4 ชนเผ่ายะมะโตะได้ขึ้นไปคาบสมุทรเกาหลีและรับเอาวัฒนธรรมการผลิตเครื่องใช้ของภาคพื้นทวีปมา ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 5 ชาวเกาหลีได้นำวิทยาการต่าง ๆ เข้ามา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน
ในศตวรรษที่ 7 เจ้าชายโชะโทะคุ (Shoutoku) จัดวางระบบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่จักรพรรดิตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถังของจีนได้สำเร็จเมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองไทขะ (Taika) และมีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงสิบกว่าครั้ง
สมัยนะระ (Nara) (ค.ศ.710 – 794)
เมื่อปี ค.ศ.710 ขณะที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม (ritsuryou) ก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่เฮโจเคียว (Heijoukyou) หรือเมืองนะระและบริเวณใกล้เคียงในปัจจุบัน แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมื่อระบบโคฉิโคมิน (Kouchi-koumin : ระบบที่รัฐบาลกลางครอบครองที่ดินทั้งหมดและปันส่วนให้กับขุนนางและชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลงเนื่องจากมีที่ดินที่ได้รับยกเว้นภาษี (Shoen) อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงความยากจนไร้ที่อยู่อาศัยของชาวนา ในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เริ่มจากวัฒนธรรมอะสุขะ (Asuka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาอันดับแรกของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮะคุโฮะ (Hakuhou) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นความทุกข์ยากของมนุษย์ จนถึงวัฒนธรรมเท็มเปียว (Tenpyou) ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกของมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามที่เป็นจริง ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
“มันโยชู” (Man’youshuu) คือ งานชิ้นเอกแห่งยุค ซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจนถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4,500 บท โดยใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน “มันโยชู” ได้รับบรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังมี “โคะจิขิ” (Kojiki) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ (ค.ศ.712) “นิฮงโชะขิ” (Nihonshoki) ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.720) และหนังสือรวมบทกวี “ไคฟูโซ” (kaifuusou) ฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.751) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการรวมบทกวีจีนของนักกวีญี่ปุ่น
สมัยเฮอัน (Heian) (ค.ศ.794 – 1185)
ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอันเ คียว (Heiankyou) หรือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน และมีความพยายามจะนำระบบ ริทสึเรียว (Ritsuryou) กลับมาใช้แต่เนื่องจากระบบโคฉิโคมินเสื่อมลง ทำให้บ้านเมืองขาดแคลนเงินทอง จนไม่สามารถส่งทูตไปจีนได้อีกภายหลังจากที่ส่งไปครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ.894 ซึ่งเป็นผลให้การรับวัฒนธรรมจากแผ่นดินใหญ่ยุติลงไปด้วย
ตระกูลฟุจิวะระ (Fujiwara) เป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจปกครองญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 10-11 และนำเอาระบบการจัดสรรปันส่วนที่ดิน โดยมีการยกเว้นภาษีที่ดินแก่คนบางกลุ่ม (Shoen) มาใช้ แต่การดูแลหัวเมืองในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเกิดการจราจลแยกตัวออกไปก่อตั้งตระกูลทหารขึ้นใน ตอนปลายศตวรรษที่ 11 ตระกูลฟุจิวะระถูกขัดขวางโดยฝ่ายอินเซ (Insei : จักรพรรดิผู้ที่ทรงสละราชบังลังก์แล้วแต่ยังทรงกุมอำนาจอยู่) ขณะที่ทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น
วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในสมัยเฮอันในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังอยู่ พุทธศาสนานิกายมิเคียว (Mikkyou) กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมาก พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว ได้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ “โคะคินวะคะชู” (Kokinwakashuu) เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นเล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ (ในต้นศตวรรษที่ 10) “เกนจิ โมะโนะงะตะริ” (Genji Monogatari) นวนิยายเรื่องยาวที่เก่าที่สุดในโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ “มะคุระโนะ โชชิ” (Makura no Soshi) หนังสือข้างหมอน (ประมาณ ค.ศ. 1000) วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร “คะนะ” (Kana) ซึ่งคนญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์จากตัวอักษรคันจิ และสามารถใช้เขียนคำศัพท์ญี่ปุ่น เพื่อสื่อความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังนำไปสู่โลกวรรณกรรมสตรีอีกด้วย
ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา พุทธศาสนานิกายโจโดะ (Joudo) ซึ่งมุ่งหวังความสุขในชาติหน้าเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับนิกายมิคเคียว ที่หวังผลประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ และเราจะเห็นถึงความมีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในวรรณกรรมกับงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม การเขียนภาพ การแกะสลัก เป็นต้น
แหล่งที่มา : siamkane.com
2. ภาพพิมพ์แกะไม้
ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 木版画, moku hanga, อังกฤษ: Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก
ประวัติ

เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 วัดในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มพิมพ์หนังสือพุทธศาสนาและภาพของตนเอง แต่การพิมพ์ก็จำกัดเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะการพิมพ์ยังเป็นสิ่งที่มีราคาสูงเกินกว่าที่จะผลิตเป็นจำนวนมากได้ และในขณะนั้นก็ยังไม่มีผู้ที่มีความรู้พอที่จะอ่านหนังสือที่พิมพ์ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้การพิมพ์ไม่มีตลาด
จนกระทั่งเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1590 จึงได้มีการพิมพ์งานที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น งานที่พิมพ์คือ “Setsuyō-shū” ซึ่งเป็นพจนานุกรมจีน-ญี่ปุ่นสองเล่ม แม้ว่านักบวชเยซูอิดจะใช้แท่นพิมพ์ในนะงะซะกิกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1590[1] แต่อุปกรณ์การพิมพ์ที่นำกลับมาโดยกองทัพของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิที่ไปทำการรุกรานเกาหลีในปี ค.ศ. 1593 กลับมามีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการพิมพ์ในญี่ปุ่นมากกว่า สี่ปีต่อมาก่อนที่โทะกุงะวะ อิเอะยะซุจะเป็นโชกุนก็ได้สร้างแท่นพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ไม้เป็นส่วนประกอบแทนที่จะเป็นโลหะ อิเอะยะซุควบคุมการสร้างแม่แบบตัวอักษร 100,000 ชิ้นที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารทั้งทางการเมืองและทางประวัติศาสตร์ ในฐานะโชกุนอิเอะยะซุก็สนับสนุนการศึกษาและเป็นผู้นำในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในเมือง การพิมพ์ในช่วงนี้มิได้นำโดยสถาบันโชกุน แต่เป็นสำนักพิมพ์เอกชนที่เริ่มปรากฏขึ้นในเกียวโตเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนั้นโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ ผู้เป็นปรปักษ์ต่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการพัฒนาและเผยแพร่การพิมพ์ในญี่ปุ่นด้วย
หนังสือขงจื๊อ “Analects” ได้รับการพิมพ์ในปี ค.ศ. 1598 โดยใช้แท่นพิมพ์เกาหลีตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โยเซ (Emperor Go-Yōzei) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือฉบับที่เก่าที่สุดในญี่ปุ่นที่พิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ แม้ว่าการใช้แท่นพิมพ์จะดูว่ามีความสะดวกแต่ก็เป็นที่ตกลงกันว่าการพิมพ์อักษรญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นแบบ “Semi-cursive script” พิมพ์ได้ดีกว่าเมื่อใช้การพิมพ์โดยวิธีแกะไม้ ฉะนั้นการพิมพ์จึงหันกลับไปเป็นการใช้การพิมพ์ด้วยพิมพ์แกะไม้ และเมื่อมาถึง ค.ศ. 1640 การพิมพ์ด้วยวิธีนี้ก็ใช้สำหรับการพิมพ์แทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง
หลังจากนั้นการพิมพ์ด้วยวิธีนี้เริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาศิลปิน และ ได้รับการนำไปใช้ในการพิมพ์งานที่มีขนาดเล็กและราคาถูก และการพิมพ์หนังสือ ผู้ที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้นำในการสร้างหนังสือศิลปะด้วยวิธีนี้ที่นำไปสู่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชนคือโฮะนะมิ โคเอตซุ (Honami Kōetsu) และ ซุมิโนะคุระ โซะอัน (Suminokura Soan) ในสำนักพิมพ์ที่ซะกะทั้งสองคนก็สร้างพิมพ์ไม้สำหรับงานคลาสสิกของญี่ปุ่นที่รวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนจาก “ม้วนหนังสือ” (Emakimono) มาเป็นหนังสือสำหรับตลาดที่กว้างขึ้น ปัจจุบันหนังสือเหล่านี้เรียกว่าหนังสือโคเอตซุ, หนังสือซุมิโนะคุระ หรือหนังสือซะกะ ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งพิมพ์จากงานคลาสสิกแรก ที่มีฝีมือและคุณภาพดีที่สุด โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงที่สุดคืองานพิมพ์ซะกะ “ตำนานอิเซะ” (Ise monogatari) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1608
วิธีการพิมพ์ที่แม้จะเป็นวิธีที่ยุ่งยากและมีราคาสูงกว่าวิธีการพิมพ์ต่อมาแต่กระนั้นก็ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีที่ใช้กันมาก่อนหน้านั้นที่แต่ละเล่มมาจากการคัดลอกด้วยมือ ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มต้นการผลิตหนังสือกันอย่างเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชน ขณะที่หนังสือซะกะจะเป็นหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษที่สวยงาม และใช้การตกแต่งหลายอย่างเพราะเป็นการพิมพ์สำหรับกลุ่มคนจำนวนไม่มากนักที่เป็นคอหนังสือ แต่สำนักพิมพ์อื่นในเกียวโตหันไปหาวิธีที่จะพิมพ์ให้มีราคาถูกกว่าและขายได้ในวงที่กว้างขึ้น เนื้อหาของหนังสือก็แตกต่างกันออกไปมากที่รวมทั้งหนังสือท่องเที่ยว, ตำราแนะนำ, “นวนิยายเชิงล้อเลียน” (kibyōshi), “วัฒนธรรมคนเมือง” (sharebon), หนังสือศิลปะ และบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” (jōruri) สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นภายในหนังสือแต่ละประเภท เช่นหนังสือบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” ก็จะมีการเลือกใช้ลักษณะการเขียนแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งก็หมายความว่าลักษณะการเขียนอักษรของผู้ได้รับเลือกก็จะใช้เป็นมาตรฐานของหนังสือประเภทนั้น
การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะดำเนินต่อมาจนกระทั่งความนิยมภาพอุคิโยะเริ่มลดถอยลง และการใช้แท่นพิมพ์และวิธีการพิมพ์แบบอื่นเข้ามาแทนที่ในการพิมพ์งานศิลปะที่เป็นแบบใหม่
3. ภาพอุกิโยะ
ภาพอุกิโยะ (ญี่ปุ่น: 浮世絵 - ตามตัวอักษร. “ภาพของโลกแห่งความล่องลอย”, อังกฤษ: Ukiyo-e) คือลักษณะ (genre) ของภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่นที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์, เรื่องราวจากประวัติศาสตร์, ภาพจากบทละคร และ แหล่งของความสำราญ (pleasure quarters) ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะหลักของภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่น
ตามปกติแล้วคำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) แปลตรงตัวว่า “โลกแห่งความล่องลอย” ที่หมายถึงโลกที่ไม่เที่ยงแท้ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความงดงามที่มีอยู่เพียงชั่วขณะหนึ่งก่อนที่จะอันตรธานหายไป และ โลกของการหาความสำราญ (คะบุกิ, สตรีในราชสำนัก (花魁?), เกอิชา) เป็นโลกที่ละจากความรับผิดชอบจากชีวิตประจำวัน “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกแห่งความล่องลอย” ถือว่าเป็นภาพที่เป็นกลุ่มภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่เป็นอิสระจากภาพเขียนประเภทอื่น
นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) บรรยายถึง “อุกิโยะ” ใน Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของโลกแห่งความล่องลอย") ที่เขียนในปี ค.ศ. 1661 ถึงมโนภาพของโลกแห่งความล่องลอยว่า:
... มีชีวิตอยู่เพียงชั่วขณะ, หันความสนใจทั้งหมดให้กับความมีความสุขกับพระจันทร์, หิมะ, ดอกซากุระบาน และใบเมเปิล; ร้องเพลง, ดื่มไวน์, หันความสนใจไปเพียงเพื่อจะล่องลอย และ ล่องลอย ...ไม่ยอมที่จะอ่อนใจ เช่นน้ำเต้าที่ล่องลอยไปกับสายน้ำ... นี่คือสิ่งที่เรียกว่าโลกแห่งความล่องลอย
ลักษณะศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากปรัชญานี้เป็นที่นิยมกันในวัฒนธรรมเมืองของเอโดะ (โตเกียว) ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เริ่มจากงานที่มีสีเดียวของฮิชิคะวะ โมโรโนะบุ(Hishikawa Moronobu) ในคริสต์ทศวรรษ 1670 ในระยะแรกภาพพิมพ์ก็ใช้เพียงหมึกอินเดีย (India ink) ต่อมาก็มีการเพิ่มสีด้วยแปรง แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซูซูกิ ฮะรุโนะบุ (Suzuki Harunobu) ก็คิดค้นวิธีพิมพ์หลายสีขึ้นที่เรียกว่า “นิชิคิ-เอะ” (nishiki-e) ขึ้น
ภาพอุกิโยะเป็นศิลปะที่ราคาพอประมาณเพราะสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ และเป็นงานที่สร้างขึ้นสำหรับชาวเมืองผู้ที่ส่วนใหญ่แล้วก็ฐานะไม่ดีพอที่จะซื้องานที่เป็นต้นฉบับได้ หัวข้อที่สร้างในระยะแรกก็เป็นชีวิตในเมือง โดยเฉพาะจากบริเวณแหล่งสำราญ ที่รวมทั้งสตรีราชสำนักผู้มีความงาม นักมวยปล้ำซูโมะ และนักแสดงละคนผู้เป็นที่นิยม ต่อมาหัวเรื่องก็ขยายไปรวมภูมิทัศน์ที่ก็กลายมาเป็นที่นิยม หัวข้อทางการเมือง และ ชีวิตของชนชั้นที่เหนือกว่าที่กล่าวเป็นหัวข้อที่ทำได้แต่หาดูได้ยาก แต่กิจกรรมทางเพศซึ่งก็ไม่ห้ามจะพบบ่อยในงานพิมพ์ภาพ แต่ศิลปินและผู้พิมพ์บางครั้งก็จะถูกลงโทษเมื่อสร้างภาพ “shunga” ที่ชัดแจ้ง
4. มังงะ
มังงะ (ญี่ปุ่น: 漫画 manga ?) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น
ประวัติ
คำว่า มังงะ แปลตรงตัวว่า "ภาพตามอารมณ์" ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกหลังจากจิตรกรอุคิโยเอะชื่อโฮคุไซตีพิมพ์หนังสือชื่อโฮคุไซมังงะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเห็นว่ามังงะอาจมีประวัติยาวนานกว่านั้น โดยมีหลักฐานคือภาพจิกะ (แปลตรงตัวว่า "ภาพตลก") ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกับมังงะในปัจจุบัน อาทิ การเน้นเนื้อเรื่อง และการใช้เส้นที่เรียบง่ายแต่สละสลวย เป็นต้น
มังงะพัฒนามาจากการผสมผสานศิลปะการวาดภาพแบบอุคิโยเอะกับจิตรกรรมตะวันตก ความพยายามของญี่ปุ่นที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันกับมหาอำนาจตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผลักดันให้ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒนธรรมตะวันตกหลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการจ้างศิลปินตะวันตกมาสอนศิลปินญี่ปุ่นเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ เช่น เส้น รูปทรง และสี ซึ่งการวาดภาพแบบอุคิโยเอะไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากคิดว่าความรู้สึกโดยรวมของภาพสำคัญกว่า อย่างไรก็ดี มังงะที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดเสรีภาพแก่สื่อมวลชน
ในศตวรรษที่ 21 คำว่ามังงะเปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถึงหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ดีคนญี่ปุ่นมักใช้คำนี้เรียกหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก ส่วนหนังสือการ์ตูนทั่วไปใช้คำว่า コミックス (คอมิกส์) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ของ comics ในภาษาอังกฤษ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ มังงะ (manga) ถูกใช้เรียกหนังสือการ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยการใช้คำว่ามังงะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
มังงะมีความสำคัญวัฒนธรรมญี่ปุ่นและได้รับการยอมรับจากคนญี่ปุ่นว่าเป็นวิจิตรศิลป์และวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง มังงะในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มอนุรักษนิยมทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศอย่างกว้างขวางว่ามีความรุนแรงและเนื้อหาทางเพศปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่มีกฎหมายจัดระเบียบมังงะ เว้นแต่กฎหมายคลุมเครือฉบับหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "ห้ามผู้ใดจัดจำหน่ายสื่อที่ขัดต่อความดีงามของสังคมจนเกินไป" เท่านั้น นักวาดการ์ตูนในญี่ปุ่นจีงมีเสรีภาพที่จะเขียนมังงะที่มีเนื้อหาทุกแนวสำหรับผู้อ่านทุกกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น